วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วงจรผีเสื้อ


ประวัติผีเสื้อ

ประวัติของผีเสื้อ


      ผีเสื้อ เป็น แมลง ทุกชนิดใน อันดับเลพิดอปเทรา  (Lepidoptera) มีวงชีวิตเริ่มแรกตั้งแต่ระยะไข่ ระยะหนอน ระยะดักแด้ ตราบจนระยะการเปลี่ยนสัณฐานเข้าสู่ระยะการโตเต็มวัยที่มีปีกหลากสีต้องตาผู้คน ในทางกีฏวิทยาการจัดจำแนกแมลงกลุ่มนี้จะใช้เส้นปีกในการจัดจำแนก
ผีเสื้อ คือ สัตว์ปีกอีกชนิดหนึ่งที่มีสีสรรสวยงามเเต่มีอายุไม่ยืนยาว ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์จะมีผีเสื้ออยู่มากดังนั้นผีเสื้อก็ เป็นเครื่องบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ดังนั้นเราควรรักษาผีเสื้อ ให้อยู่คู่กับป่าตลอดไป ลักษณะของผีเสื้อ ผีเสื้อก็เหมือนกับเเมลงทั่วไป คือเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง มีขาเป็นปล้องจำนวน 6 ขา มีกระดูกสันหลังอยู่นอกลำตัวห่อ หุ้มอวัยวะต่างๆไว้ ร่างกายประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกันคือ หัว อกเเละท้อง ซึ่งเเต่ละส่วนเป็นที่ตั้งของอวัยวะสำคัญ ในบรรดาสัตว์ต่าง ๆ ที่อยู่บนโลกนี้ สัตว์จำพวกแมลงมีจำนวนชนิดมากถึง 3 ใน 4 ของสัตว์ทั้งหมด ด้วยวิวัฒนาการอันยาวนาน แมลงจึงมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างหลากหลายมาก ซึ่งจากการศึกษา ซากดึกดำบรรพ์ของ ผีเสื้อที่ค้นพบในปัจจุบัน พบว่า แมลง ในกลุ่มของผีเสื้อ มีแผ่นปีกบาง ๆ ซึ่งชำรุด เสียหายได้ง่ายหลังจากที่มันตายไปแล้ว จึงเป็นการยากที่จะบอกเรื่องราว ในอดีตได้มากนัก เราต้องอาศัยจินตนาการและการคาดเดาในบางส่วน
ผีเสื้อได้ชื่อว่าเป็นแมลงแสนสวย ธรรมชาติสร้างสรรค์สรีระของผีเสื้อออกมาได้อย่างลงตัว ผีเสื้อจึงคู่ควรกับดอกไม้ซึ่งเป็นพืชที่มีอายุขัยสั้นเช่นกันแต่ทั้งดอกไม้และผีเสื้อ คือสิ่งมีชีวิตที่มีอายุขัยสั้นเหมือนกันก่อนจะมาเป็นผีเสื้อ แมลงชนิดนี้ไม่ถูกเรียกว่า “ลูกผีเสื้อ” แต่เริ่มต้นจากคำว่า ไข่ หนอน และดักแด้ และตัวเต็มวัย หรือ ผีเสื้อ
       ผีเสื้อมี 2 ชนิด คือ ผีเสื้อกลางคืน และผีเสื้อกลางวัน สังเกตได้ง่ายๆ ผีเสื้อกลางวันจะมีสีสันสดใสกว่า หากินเฉพาะกลางวัน ปากมีลักษณะเป็นงวง แต่ผีเสื้อกลางคืน จะมีลักษณะตรงกันข้าม คือ มักมีสีน้ำตาล และไม่มีลายเด่นชัด หากินกลางคืน และบางชนิดมีปากลดรูปไป จนไม่สามารถกินอาหารได้ เช่น ผีเสื้อยักษ์ ย้อนกลับไปดูการเริ่มต้นของการกำเนิดผีเสื้อนั้น ในภาวะการสืบพันธุ์แบบปกติแล้วตัวเมียจะผสมกับตัวผู้ครั้งเดียวเท่านั้น แต่ตัวผู้จะผสมกับตัวเมียได้หลายตัว เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว ตัวเมียจะหาที่วางไข่บนใบ และลำต้นของพืชอาหาร การเลือกพืชอาหารสำหรับไข่ จะเป็นความสามารถเฉพาะตัวของพืชอาหารสำหรับไข่ จะเป็นความสามารถเฉพาะตัวของผีเสื้อนั้นๆ ก่อนวางไข่ ตัวเมียมักตรวจตรวจสอบกลิ่นพืช โดยใช้หนวดและขนบริเวณปลายขาซึ่งมีเส้นประสาทรับกลิ่นสัมผัสกับตำแหน่งที่วางไข่ก่อน วิธีการนี้ทำให้ผีเสื้อสามารถวางไข่บนพืชอาหารของตัวเองได้อย่างถูกต้อง ระยะวางไข่ผีเสื้อโดยทั่วไปตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 100 ฟอง มีอายุ 5-7 วัน และใน 100 ฟอง นี้ใช่ว่าจะเกิดเป็นผีเสื้อ 100 ตัวในธรรมชาติ อัตราการรอดของผีเสื้อกลายมมาเป็นแมลงปีกสวยแค่ 2 % หรือ 2 ตัวเท่านั้น ที่เหลือต้องสวมบทบาทเป็นเหยื่อของนกและแมลงบางชนิดไป หรือ อาจจะถูกลมฟ้าพัดพาไข่ให้ล่องลอยไปหมดโอกาสเป็นผีเสื้อในวันข้างหน้า
ดังนั้นวิธีการหลบเลี่ยงศัตรูของผีเสื้อจะใช้วิธีการพรางตัวให้กับใบไม้กิ่งไม้ บางครั้งหากไม่สังเกตจะไม่รู้ว่ากิ่งไม้แห้งมีผีเสื้อหลบภัยอยู่ ผีเสื้อส่วนใหญ่วางไข่ในลักษณะกระจาย คือ ไม่วางไข่ทั้งหมดอยู่บริเวณเดียวกัน จะวางเพียง 1-2 ฟองเท่านั้น ตำแหน่งที่วางไข่อาจแตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่มักวางไข่ด้านล่างของพืช ระยะตัวหนอนผีเสื้อจะอยู่ในช่วงนี้ ประมาณ 1-2 อาทิตย์ จะลอกคราบเพื่อเพิ่มขนาดของลำตัวใหญ่ขึ้น ประมาณ 5-6 ครั้ง ระยะนี้นับได้ว่าเป็นระยะที่มีการทำลายพืชมากที่สุด เพราะหนอนผีเสื้อทุกชนิดกินพืชเป็นอาหาร เรามักเห็นหนอนผีเสื้อหลายชนิดกินเกือบตลอดเวลา และส่วนที่ผีเสื้อชอบกินมากที่สุด คือ ใบ
ผีเสื้อจะไม่กินไม้ผลไม้ดอก และจากการศึกษาพบว่า ผีเสื้อกลางวันส่วนใหญ่ไม่กินพืชเศรษฐกิจ ศัตรูที่สำคัญของพืชเศรษฐกิจ คือ ผีเสื้อกลางคืน
ผีเสื้อเมื่อหมดระยะตัวหนอนจะกลายร่างเป็นดักแด้ใช้ชีวิตช่วงนี้ 5-7 วัน และตัวเต็มวัยประมาณ 10-20 วัน เป็นอันจบชีวิตของแมลงแสนสวย

วงจรชีวิตหิ่งห้อย


ประวัติหิ่งหห้อย

เรื่องราวของหิ่งห้อย (1)
 
สิ่งมีชีวิตที่มีแสง
         สิ่งมีชีวิตที่เปล่งแสงได้นั้น มีหลายชนิดเช่น สิ่งมีชีวิต เซลล์เดียวอาศัยอยู่ในทะเล ชื่อ นอคติลูคา (Noctiluca) ตามปกติจะเปล่งแสงสีแดงจนทำให้ผิวทะเลมีสีแดง แต่ถ้ามีคลื่นรบกวน นอคติลูกาจะเปล่งแสงสีน้ำเงินแทนบักเตรีบางชนิด สามารถเปล่งแสงสีน้ำเงินหรือสีเขียวแกมน้ำเงินได้ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม ในสัตว์ทะเลกลุ่มของหอยกาบได้แก่หอยสองฝา ชื่อโพลาสแดดติลูส (Pholas dactylus) ก็สามารถเปล่งแสงขณะเคลื่อนไหวได้ ในสัตว์มีกระดูกสันหลังสัตว์จำพวกปลาโดยเฉพาะปลาน้ำลึกจะมีส่วนของร่างกายที่เปล่งแสงได้ บางชนิดเป็นแถบเป็นตุ่มตามข้างลำตัว บางชนิดมีอวัยวะที่คล้ายตีนเป็ดยื่นมาจากส่วนหัวที่ปลายเรืองแสงได้ใช้ล่อปลาอื่นมากินเป็นอาหารแต่การเรืองแสงของปลาเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากตัวของปลาเองแต่เกิดจากบักเตรีที่อาศัยอยู่ในตัวปลาเช่น บักเตรีที่ชื่อโพโตเบลฟารอน (Photoblepharon) และหิ่งห้อยก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่ส่องแสงได้โดยสามารถสร้างแสงสว่างได้จากภายในของตัวเองจากปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์
ตำนานหิ่งห้อย         หิ่งห้อยเป็นสัตว์จำพวกแมลงปีกแข็ง เป็นแมลงที่พบทั่วไปทั้งในยุโรป เอเชีย และอเมริกา แต่จะพบในเขตร้อน และไม่พบหิ่งห้อยในทะเลทรายในภาษาอังกฤษ เรียก หิ่งห้อยว่า FireFly ชื่อแมลงไฟ ส่วนหิ่งห้อยตัวเมียไม่มีปีก คล้ายหนอน จึงเรียกว่า Growworm หรือหนอนเรืองแสง ในอเมริกาเรียกหิ่งห้อยว่า Lightningbug ส่วนในประเทศไทยหิ่งห้อยก็มีชื่อให้เรียกขานต่างกันไป ตามแต่ละท้องถิ่น เช่น แถบบางเขน เรียกว่า แมลงทิ้งถ่วง อยุธยา, ชัยนาท เรียกว่า แมงคาเรือง ที่สุพรรณบุรี เรียกว่า แมงแสง

         หิ่งห้อยนอกจากมีชื่อต่างกันไปตามท้องถิ่นแล้วในแต่ละที่ก็มีความเชื่อ ความรู้ เกี่ยวกับหิ่งห้อยแต่ต่างกันไป ทั้งในด้านปรัชญา ศาสนา ศีลธรรม
          ความเชื่อของคนมาเลเซีย พวกโอรังดูซัน ซึ่งเป็นเผ่าพื้นเมือง เชื่อว่าหิ่งห้อยเป็นวิญญาณของคนตายส่วนคนมาลายูก็เชื่อว่าหิ่งห้อยเกิดจากเล็บมือมนุษย์
         ในอินเดียมีคนเชื่อว่าหิ่งห้อยคือนัยน์ตาของเทพเจ้าที่หลงเหลืออยู่ หลังจากสงครามซึ่งความเป็นอยู่ส่วนใหญ่ ส่วนเนื้อหนังและกระดูกโดนโยนลงแม่น้ำและเน่าเปื่อยไปแล้วเหลือเพียงนัยน์ตาที่ส่องแสงได้ในความมืด
         ในอินเดียยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับกำเนิดหิ่งห้อยด้วยว่า หิ่งห้อยเกิดจากความร่วมมือของเทพ 3 องค์ เพื่อให้มนุษย์เลิกกินอาหารดิบและมีไฟเอาไว้ใช้ โดยเทพองค์แรกเป็นแมลงตัวหนึ่งปั้น มาจากขี้ไคลของพระองค์ อีกพระองค์ถูพระวรกายของพระองค์เองจนเกิดไฟลุกขึ้น แล้วก็เอาไฟไปติดที่แมลงตัวนั้น ส่วนอีกพระองค์ก็รีบนำแมลงตัวนี้ส่งให้มนุษย์อย่างเร่งด่วน แต่ระหว่างทางไฟก็ค่อย ๆ มอดลง เหลือเพียงที่ก้นแมลงอยู่นิดหนึ่ง ซึ่งแมลงตัวนี้ก็คือ หิ่งห้อยตัวแรกนั่นเอง
         ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าหิ่งห้อยคือวิญญาณของคนตายตามที่ ส.พรายน้อย (นักเขียนผู้หนึ่ง) เล่าว่าในฤดูร้อนริมฝั่งแม่น้ำอูจี (ในญี่ปุ่น) ฝูงหิ่งห้อยที่อยู่คนละฟากของแม่น้ำจะยกพลเข้ารบกัน พวกที่แพ้ก็จะตกลงไปในน้ำ ทำให้ผิวน้ำเป็นประกายชาวบ้านจึงจับกลุ่มกันดูความงามอันน่าประหลาดนี้และกล่าวว่า นี่คือนิสัยคุมถิ่นที่ติดตัวมาครั้งที่ยังเป็นมนุษย์และหิ่งห้อยนี่คือ วิญญาณของ 2 ตระกูลนักรบในอดีตที่รบรากันมาแต่เมื่อหลายร้อยปีก่อน
         อดีตมีการใช้ประโยชน์หิ่งห้อยเป็นโคมไฟราคาถูกสำหรับชาวบ้าน ในจีนและญี่ปุ่น นักศึกษาที่ยากจนจะจับหิ่งห้อยใส่ภาชนะต่างตะเกียงเพื่อใช้อ่านหนังสือในเวลากลางคืน ที่จาไมก้าหิ่งห้อยมีขนาดใหญ่ให้แสงสว่างมากเพียงแค่ 6-7 ตัวก็ให้แสงสว่างเพียงพอกับการอ่านหนังสือแล้ว ที่บราซิลจะจับหิ่งห้อยมาใช้ในพืชพวกน้ำเต้า เจาะรูรอบ ๆ ใช้แทนตะเกียงในกระท่อม บางครั้งชาว บราซิลจะจับหิ่งห้อยมาประดับในเรือนผม หรือไม่ก็ผูกไว้ที่ข้อเท้าขณะเดินป่า ชาวปานามาที่ยากจนนิยมจับหิ่งห้อยใส่ในกรงกระดาษเล็ก ๆ เพื่อนำมาติดเป็นต่างหู แม้แต่ในประเทศไทยก็มีตำนานที่สืบทอดกันมานาน กล่าวว่าหิ่งห้อยคือวิญญาณของชายที่จุดตะเกียงโคมตามหาหญิงคนรักที่ชื่อนางลำพูซึ่งจมหายไปในแม่น้ำ เพราะฉะนั้นลำพูจึงเป็นต้นไม้ที่หิ่งห้อยชอบเกาะเนื่องจากความเชื่อที่ว่าเป็นวิญญาณของคนรักตน